เที่ยวไหนดี? ... วัดนครชุ่มชื่น นครปฐม

เที่ยวไหนดี? ... วัดนครชุ่มชื่น ตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 😀


เนื่องจากไปทำธุระ แถวถนนพุทธมณฑลสาย ๔  (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑๐)  โดยผมเดินทางมาจากทางถนนกาญจนาภิเษก ผ่านบางใหญ่ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนบรมราชชนนี จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพุทธมณฑล สาย๔ ผ่าน พุทธมณฑล อยู่ทางด้านซ้ายมือ  และแวะปั้ม ปตท. วันนั้น ฝนตกพร่ำๆ  ตลอดช่วงเช้า ในต้นเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐   ในช่วงพักระหว่างวัน   ผมเดินออกมาจากปั้ม สังเกตุเห็น ปากซอยกระทุ่มล้ม ๑๑  เป็นทางเข้าวัด  ด้วยความที่อยากไปทำบุญ จึงเดินข้ามสะพานลอย เพื่อเดินทางเข้าวัด  ช่วงนั้นฝนหยุด ตก  (^_^)  การเดินทางจึงค่อนข้างสะดวก


ปากทางเข้าวัด 

แผนที่


จากประตูทางเข้าวัด เดินไปถึงวัด เป็นระยะทาง ๗๐๐ เมตร  ซึ่งหากท่านใดไม่สะดวกเดินก็สามารถใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างได้ ค่ะ  อยู่ทางด้านซ้ายของประตู  ในซอย ท่านก็จะผ่านบ้านเอื้ออาทร (ซอยวัดนครชุ่มชื่น)  อยู่ทางด้านขวามือ และในซอยกระทุ่มล้ม ๑๑  นี้ ก็มี 7-11 ถึงสองแห่ง ค่ะ

เมื่อเดินทางถึงหน้าวัด  โดยผมไม่ได้เข้าไปทางประตูวัด แต่ใช้สะพานข้ามคลองที่ทางวัดมีอยู่ ซึ่งใกล้กว่า
ทางด้านขวาก่อนเข้าวัด

ด้านซ้ายก่อนเข้าวัด

ประวัติวัด

วัดนครชื่นชุ่ม ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๔ หมู่ที่ ๗ ตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สร้างขึ้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ โดยตระกูล “กรรณสูต” ซึ่งได้กล่าวไว้ว่าภายหลังที่ นายอากร ฮะหยง ซึ่งเป็นน้องชายของพระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม (อี้ กรรณสูต) ได้ถึงแก่อนิจกรรม ต่อมาอีกไม่นาน นางชุ่มภรรยาของท่านก็ถึงแก่กรรมบุตรแลหลานจึงได้นำเงินที่ได้รับบริจาคในงานครั้งนี้มาสร้างวัดเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งบรรพบุรุษทั้งสอง ชื่อว่า “วัดชื่นชุ่ม” ต่อมาวัดนี้ได้มีการบูรณะซ่อมแซมในสมัยขุนนครรัฐเขตต์ จึงได้ผนวกนามของท่านเข้าไปด้วย และได้ชื่อใหม่ว่า “วัดนครชื่นชุ่ม” สืบมา วัดนครชื่นชุ่ม ประกาศตั้งวัดเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๙ ปัจจุบันมีพระครูมงคลประภาส เป็นเจ้าอาวาส

ขอขอบคุณ : ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม


พิกัด GPS  :  13.745096, 100.323444

เมื่อเข้ามาวัด  สิ่งแรกที่ผมทำ คือ เดินไปที่โบสถ์ เพื่อกราบพระประธาน ซึ่งวันนั้น ทางวัดไม่ได้เปิดโบสถ์ ให้คนเข้าสักการะ  จึงเก็บได้เพียงภาพภายนอก ของโบสถ์ พืนบริเวณโดยรอบโบสถ์ ปูด้วยหินอ่อน

ภาพด้านหน้าตรงโบสถ์

ภาพด้านข้างโบสถ์

มีช่อฟ้า อยู่ ๒ ตัว อยู่ด้านหน้าโบสถ์ เพื่อรอพิธียกช่อฟ้า

นอกจาก ความสวยงามของโบสถ์ ที่เห็น ผมประทับใจพระพุทธรูป ปางยืนที่อยู่ทางด้านหน้าประตูโบสถ์  ผมเข้าใจว่า น่าจะเป็นพระพุทธรูปปาง พระร่วงโรจนฤทธิ์ ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร  ซึ่งดูพระพุทธรูปที่หน้าโบสถ์แห่งนี้  แล้วเป็นพระพุทธรูปที่สวยงาม มากค่ะ

พระพุทธรูปปางยืน ที่อยู่ตรงประตูโบสถ์

สำหรับด้านข้างของโบสถ์ มีลักษณะเหมือนทางลงใต้โบสถ์  ซึ่งปิดด้วยประตูกระจก
โบสถ์

อุโบสถ



หลังจากสักการะ พระพุทธรูป ที่หน้าโบสถ์ แล้ว (เนื่องจากเข้าในโบสถ์ไม่ได้  😔)  จึงเดินสำรวจวัด ต่อไป ค่ะ

อนุสรณ์สถานพระครูสุนทรกิจโกศล (ชั้ว บัวหลั่น)

เดินจากทางโบสถ์มาทางด้านขวาของโบสถ์ จะเห็นศาลาเล็ก ข้างศาลา อำพล-จรีพร เทพผดุงพร   


ซึ่งทางวัด ก็เคยมีการสร้างเหรียญพระครูสุนทร กิจโกศล เมื่อปี ๑๓
สำหรับด้านข้างอนุสรณ์สถานพระครูสุนทรกิจโกศล (ชั้ว บัวหลั่น)  มี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ให้กราบสักการะ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

ศาลเจ้าแม่ตะเคียนและพ่อปู่ฤาษี





ศาลาแปดเหลี่ยม เจ้าแม่กวนอิม



เนื่องจากเป็นศาลา โล่งทำให้การถ่ายภาพ เพื่อลดแสงสะท้อนค่อนข้างยาก ค่ะ  😓


ด้านบนภายในของศาลาแปดเหลี่ยมมีรูปของโป๊ยเซียน

ศาลาพระสีวลี

วันนั้น ศาลากระจกปิด ค่ะ จึงถ่ายภาพมาจากทางด้านนอก
พระสีวลี
พระสีวลี เป็นพระภิกษุผู้เป็นเลิศด้วยลาภ  โดยเชื่อกันว่า หากผู้ใด ได้กราบไหว้ ก็จะนำมาซึ่งโชคลาภ และอุดมด้วยโภคทรัพย์

ด้านข้างศาลาพระสีวลี  จะมีพระพรหม และ พระแม่ธรณีบีบมวยผม



หลังจากเที่ยวชม และกราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งหลายเสร็จแล้ว  ผมก็เดินทางกลับไปยังปั้ม ปตท.  ระหว่างเดินทางกลับ ฝนเริ่มโปรย ลงมาอีก ครั้ง  พอดีเป็นช่วงเวลาบ่ายโมงกว่าๆ  จึงแวะรับประทานข้าวผัดต้มยำทะเล (ร้านที่อยู่ตรงข้ามทางเข้าบ้านเอื้ออาทร)   เมื่อท้องอิ่มจึงออกเดินทางอีกครั้ง คราวนี้ ฝนไม่มีทีท่าว่าจะหยุด แต่ก็ดีอย่างที่ไม่หนักมาก ค่ะ   โปรยลงมาอย่างสม่ำเสมอ  เดินถึงปั้มพอดี ตัวเปียก ได้พอชื่นใจ ค่ะ

ขอบคุณค่ะ 😊


สำหรับท่านที่สนใจหาที่พัก ในจังหวัด นครปฐม  สามารถกด ลิงก์ที่นี่  หรือ ลิงก์ที่นี่ ก็ได้ ค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น