เที่ยวไหนดี? ... ไหว้พระ ๙ วัด สระบุรี วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)

เที่ยวไหนดี? ... ไหว้พระ ๙ วัด  สระบุรี  😀

๔.  วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) ตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี


หลังจากกราบสักการะหลวงพ่อทองคำ วัดพะเยาว์ ตำบลศาลารีไทย อำเภอเสาไห้  ผมออกจากวัดเลี้ยวขวา เข้าสู่ถนนทางหลวงหมายเลข ๓๐๕๐ ไป ๓.๕ กิโลเมตร เลี้ยวขวา เข้าถนนสุขาภิบาล ๕  อีก ๒.๔ กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนทางหลวงหมายเลข ๓๐๔๘ แค่ ๓๕๐ เมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนทางหลวงหมายเลข ๓๒๕๐ ไป ๖.๓ กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าถนนทางหลวงหมายเลข ๓๐๓๔ ระยะทาง ๔.๕ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนทางหลวงหมายเลข ๔๐๐๙ อีก ๖๕๐ เมตร  วัดเขาวง อยู่ทางด้านขวามือ

เมื่อเลี้ยวเข้าด้านในพื้นที่วัด (ประตูด้านใน)

พิกัด GPS :  14.670814, 100.828894

แผนที่



ประวัติ

วัดเขาวง ตั้งอยู่เลขที่ ๖๒/๑ หมู่ที่ ๕ ตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยได้รับอนุญาตสร้างวัดเมื่อวันที่ ๕กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ และได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดตามลำดับจนกระทั่งได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๑  มีบริเวณกว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๕๑ เมตร เนื้อที่ ๑,๕๐๐ ตารางเมตรดำเนินการผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๖

สถานที่แห่งนี้เป็นศาสนสถานมาเป็นเวลายาวนานสืบความไปถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเสด็จจากวังนารายณ์เมืองละโว้ (ลพบุรี) ไปว่าราชการที่กรุงศรีอยุธยา ทรงผ่านประทับแรม ณ ถ้ำนารายณ์   และสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งทรงเสด็จมานมัสการรอยพระพุทธบาท ก็ได้เสด็จประทับพักแรมในถ้านารายณ์ ซึ่งมีอากาศเย็นสบายตลอดปีและ  จากอักษรจารึกบนผนังปากถ้ำก็ปรากฏหลักฐานว่า ถ้ำนี้ได้เคยเป็นที่บำเพ็ญกุศลมาตั้งแต่สมัยอนุราธปุระ เมื่อกว่า ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว ผ่านความรุ่งเรืองและเสื่อมโทรมและฟื้นฟูขึ้นเป็นวัด ตามประเพณีการปกครองแผ่นดินและการสืบพระพุทธศาสนา ดังกล่าวข้างต้น

ปัจจุบันนี้ วัดเขาวงได้พัฒนาขึ้นมาสู่สภาพวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากรแล้วเมื่อวันที่ ๔ธันวาคม ๒๕๔๕ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๑๙ ง โดยการนำของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) และพระธรรมสิทธินายก (ธงชัย สุขญาโณ) แห่งวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร และยังเป็นแหล่งพันธุ์ไม้และสัตว์หาดูยาก คือโมกราชินี (Wrightia SIRIKITIAE D.J. Middleton&Santisuk) จันผา, นกหัวจุก, กระรอกเผือกฯลฯ เพื่อรักษาไว้เป็นมรดกวัฒนธรรมศาสนาของชาติไทยสืบไป

วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสระบุรี แห่งที่ ๖  และมีการปฏิบัติกรรมฐานตามสาย พระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) มีหลักเจริญภาวนามหาสติปัฏฐานสูตร รับผู้เข้าพัก ปฏิบัติธรรมตลอดทั้งปี

พระอุโบสถ

เมื่อเข้ามาด้านในพื้นที่วัด  ผมก็เลี้ยวซ้ายมาจอดรถ เนื่องจากพื้นที่จอดรถทางด้านขวาเต็ม ลงจากรถก็จะพบอุโบสถ
พระอุโบสถ
 ทางด้านซ้ายมือของ พระอุโบสถ มี วิหารภาวนา พระคาถาเงินล้าน


เดินต่อไปยัง พระอุโบสถ

ประตูพระอุโบสถ
ด้านในอุโบสถ 
พระประธานในพระอุโบสถ


ภาพพุทธประวัติ ด้านในพระอุโบสถ

ภาพพุทธประวัติในพระอุโบสถ
 สำหรับผู้ที่มีความประสงค์ถวายพานดอกไม้ กราบพระประธาน ทางวัดก็ได้มีเตรียมไว้ให้ ทำบุญ ครับ

ถวายดอกไม้ สักการะองค์พระประธาน

ก่อนเดินออกจากพระอุโบสถ
ด้านบน ประตูพระอุโบสถ (ในโบสถ์)
เมื่อเดินออกจากโบสถ์แล้วเลี้ยวซ้าย ตามเส้นทางก็จะพบร้านกาแฟ วันยังค่ำ และก็ รูปหล่อหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

รูปหล่อ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ใต้ต้นโพธิ์

ศาลพระนารายณ์

เดินถัดจากรูปหล่อหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ไปเล็กน้อย อยู่ทางด้านขวา ด้านใน

ศาลพระนารายณ์


พระนารายณ์ทรงฤทธิ์
มีพิธีเทวาภิเษกเทวรูป (องค์จำลอง) พระนารายณ์ทรงฤทธิ์ เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓

บทเจริญอาราธนาพระนารายณ์ทรงฤทธิ์
อุทธัง ครุโฑ เหฏโฐ เทโว พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง อิติ

ถ้ำนารายณ์ โบราณสถานวัดเขาวง


ด้านหน้าของถ้ำนารายณ์ มีป้ายบอกประวัติวัดและลำดับเจ้าอาวาส
ประวัติวัด และลำดับเจ้าอาวาส
 เมื่อถึงบริเวณด้านหน้า จะพบ องค์หลวงพ่อปานสีเงิน, สมเด็จองค์พระปฐมบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า (ปางพระนิพพาน)  และองค์หลวงพ่อฤาษีลิงดำสีเงิน

ถ้ำนารายณ์ โบราณสถานวัดเขาวง


เริ่มเดินเข้ามาด้านในถ้ำเล็กน้อย รับรู้ได้ว่าอากาศภายในถ้ำเย็นมาก  ซึ่งเมื่อเทียบกับอากาศด้านนอก แดดแรง และค่อนข้างร้อน 

เมื่อถึงด้านใน ถ้ำนารายณ์  จะพบพระพุทธรูปองค์ ทางด้านหน้า และรูปปั้น หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ทางด้านขวา (อากาศภายในถ้ำเย็นจริงๆ ครับ เริ่มสบายตัวขึ้น)

ภายในถ้ำนารายณ์

รูปปั้นหลวงพ่อฤาษีลิงดำ และ พระพุทธรูปปางประจำวันเกิด

 หลังจากกราบสักการะ เสร็จแล้ว ผมเดินไปด้านหลังองค์พระ ด้านในปิดไฟ มืด แต่พอมองได้ว่า น่าจะมีทางเดินต่อไปได้ ขึ้นไปเล็กน้อย เลยได้รูปถ่ายมา ครับ ว่า เป็นที่ประดิษฐานองค์พระ และ พระแก้วมรกต แต่ คาดว่าคงไม่สะดวก ทางวัดจึงไม่ได้เปิดไฟ เพื่อให้เข้าไปกราบไหว้



คำจารึกถ้ำนารายณ์ โบราณสถานวัดเขาวง

คำจารึกนี้ ปรากฏอยู่ด้านหน้าของโบราณสถาน ทางด้านขวามือ ก่อนเข้าถ้ำ  ซึ่งทางวัดมีการกั้นกระจก เพื่อกันการขีดข่วน ในระดับหนึ่ง

ถ่ายภาพ ค่อนข้างยาก ครับ เนื่องจากอยู่ด้านหน้าถ้ำ และแสงภายนอกสว่างมาก แต่ด้วยความพยายามก็สามารถ ถ่ายเท่าที่ได้ ให้มีแสงสะท้อนน้อย ที่สุด ครับ

คำจารึกอักษรมอญโบราณ ด้านหน้าถ้ำนารายณ์

คำจารึกที่เห็นในรูปข้างบนนี้ อยู่ ณ ปากถ้ำนารายณ์ โบราณสถานวัดเขาวง เป็นอักษรมอญโบราณ (ปัลลวะ) ซึ่งเป็นแบบอักษรของชาวอินเดียฝ่ายใต้ ปรากฎมี ในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทยในสมัยก่อนสุโขทัย จนวิวัฒนาการมาเป็นอักษรขอมและมอญโบราณ  สำหรับอักษรจารึกถ้ำนารายณ์ ซึ่งมีข้อความอยู่ ๓ บรรทัด  ทางกรมศิลปากรแปลไว้ว่า "กัณทราชัย ผู้ตั้งแคว้นอนุราธปุระ ได้มอบให้พ่อลุงสินาธะ เป็นตัวแทนพร้อมกับชาวเมือง (อนุราธปุระ) จัดพิธีร้องรำเพื่อเฉลิมฉลอง(สิ่ง)ซึ่งประดิษฐานไว้แล้วข้างในนี้"

คำแปล
พยายามที่สุดแล้ว ครับ น่าจะพอมองออก นะครับ

บรรยากาศโดยรอบ ด้านหน้าถ้ำนารายณ์

พระโพธิสัตว์กวนอิม และบ่อปลาคาร์พ

สำหรับผู้ที่สักการะ ก็มีร่มเงาให้ครับ
ลานเจริญสติปัฎฐาน

อยู่ตรงข้ามกับถ้ำนารายณ์
สำหรับผู้ที่ต้องการสำรวจ ภายในวัดเขาวง ทางวัดก็มี แผนภูมิของวัด  ให้ศึกษาครับ 

แผนภูมิวัดเขาวง
หลังจากอิ่มใจ เรียบร้อย ก็เดินกลับมาที่รถ พอถึงจุดที่จะเลี้ยวขวามาที่ผมจอดรถอยู่ ก็เห็นพระพุทธรูปสีขาวอยู่บนเขา  อยู่ในเขตสังฆวาส ครั้นจะเข้า ผมก็คิดว่าไม่สมควร  กว่าจะได้มุมที่เหมาะ ที่พอจะถ่ายเห็นองค์พระ ก็คือ บริเวณที่ผมจอดรถ  (ก่อนที่ผมจะเข้ามาภายในวัด ผมจะเห็นองค์พระ เด่นมาแต่ไกล เลย)

พระพุทธรูปองค์ขาว ตั้งอยู่บนเนินเขา

เมื่อสมควรแก่เวลา ผมก็จะออกเดินทางต่อไป ยังวัดที่ ๕ คือ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร  ครับ 😊


ขอบคุณ ครับ 😄


สำหรับท่านที่สนใจหาที่พัก ใน จังหวัดสระบุรี สามารถ กดลิงค์ ที่นี่ ได้  หรือ กดลิงค์นี่ ครับ

เที่ยวไหนดี? ... ปิดทองลูกนิมิต ปี๖๐ วัดเจริญธรรมาราม (วัดศูนย์) ซอยสายไหม ๗ กรุงเทพฯ

เที่ยวไหนดี? ... วัดเจริญธรรมาราม (วัดศูนย์) ซอยสายไหม ๗ กรุงเทพฯ  😀


เริ่มต้นปี  พ.ศ. ๒๕๖๐ ด้วยการอยากทำบุญปิดทองลูกนิมิต  เมื่อเดินทางผ่านถนนสายไหม เห็นป้ายแนะนำ งานผูกพัทธสีมา ปิดทอง ตัดหวายลูกนิมิต ของทางวัดเจริญธรรมาราม (วัดศูนย์) อยู่ในซอยสายไหม ๗   พิธีพุทธาภิเษกและเปิดงานปิดทองฝังลูกนิมิต เริ่มงานในวันเสาร์ที่ ๒๘ มกราคม เวลา ๑๓:๐๐ น.   สำหรับงานปิดทองฝังลูกนิมิตจะมีตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ ๒๙ มกราคม สิ้นสุดวันจันทร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ (ตัดหวาย)   เลยเข้าไปดูสักหน่อย ก่อนจากวันเริ่มงานจริง ....

การเดินทาง

หากเริ่มที่ สนามบินดอนเมือง มุ่งหน้าไปทางรังสิต แล้วขึ้นสะพานโค้ง ซึ่งอยู่ด้านซ้าย เพื่อไปทางสะพานใหม่ ถึงสี่แยกที่ตัดกับทางเข้าฐานทัพอากาศ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนจันทรุเษกษา สุดถนนเลี้ยวซ้าย และเลี้ยวขวา สะพานข้ามคลอง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสายไหม และเลี้ยวซ้ายอีกครั้งเมื่อถึง ซอยสายไหม ๗  สุดทางจะเป็นวัดเจริญธรรมาราม (ช่วงนี้ มีการก่อสร้างจึงทำให้สุดทางที่วัด ครับ  หากอนาคต การก่อสร้างแล้วเสร็จ มีการเปิดทาง ก็จะเห็นวัดก่อนเลี้ยวขวา เพื่อไปต่อ)   หากใช้ GPS นำทาง บางครั้ง อาจจะให้เข้าทาง ซอยสายไหม๑  ซึ่งผมไม่ทราบว่าเข้าได้หรือไม่ เพราะผมเข้าไปด้านในวัด ก็ไม่พบทางออก ที่จะไป ซอยสายไหม๑ ครับ


ประตูวัดเจริญธรรมาราม (วัดศูนย์)  (สุดซอย สายไหม๗)  
ด้านในวัดเจริญธรรมาราม (วัดศูนย์)

ประวัติวัด


วัดเจริญธรรมาราม ตั้งอยู่ที่ ๙๙ หมู่ ๕ ถนนสายไหม ซอยสายไหม ๗ เขตสายไหม กรุงเทพฯ  เดิมวัดนี้เป็นทุ่งนากว้างมี คุณแม่เพิ่ม เทียนทอง พร้อมด้วย บุตรธิดาบริจาคที่ดินให้พระครูสังวรสมาธิวัตร รับที่ดินแล้วจึงมอบให้ พระอาจารย์ บริลักษณ์ สุตฺตธโร เริ่มก่อตั้ง เป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดยชาวบ้านเรียกสั้นๆว่า "วัดศูนย์"  เนื่องจาก เป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรก ตั้งแต่นั้นมา ต่อมามีผู้มาบริจาคที่ดินเพิ่มอีก ๕ ไร่  ดังนี้ นายประสิทธิ์ ทองแจ้ง, นายเฉลียว ทองแจ้ง,
นายสมบัติ ทองแจ้ง, นายสมบูรณ์ ทองแจ้ง   ต่อมาทางวัดได้ขอซื้อที่ดินจาก นายประสิทธิ์ ทองแจ้ง อีก ๓ ไร่ ๑ งาน  และขอซื้อที่ดินเพิ่มเติมจาก นายพูนศรี  โพธิเสถียร อีก ๓ ไร่เศษ ต่อมาทาง วัดเจริญธรรมาราม  ได้รับการโอนโฉนดที่ดินมาเป็นของวัดเจริญธรรมารามเป็นที่เรียบร้อย เมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๐ ตามหมายโฉนด  ดังนี้
       ตามหมายเลขโฉนดที่ดิน ๑๓๘๙๙๖ จำนวน ๓ ไร่ ๑ งาน ๕๐ ตารางวา  โฉนดที่๑
ตาม หมายเลขโฉนดที่ ๑๒๖๒๑๖ จำนวน ๓ ไร่ ๓ งาน ๕๗ ตารางวา ตามหมายเลขโฉนดที่ดิน ๕ ไร่ ๑ งาน ตามเลขโฉนดที่ดิน ๔๕๒๕๐ จำนวน ๓ ไร่ ๘ ตารางวา
       รวบรวมเนื้อที่ของวัดได้ทั้งหมด ๑๕ ไร่ ๒ งาน ๕ ตารางวา เมื่อรวบรวมเนื้อที่ได้พอสมควรแล้วจึงขออนุมัติตั้งสำนักเป็นศูนย์การศึกษา พระพุทธศาสนา(วัดศูนย์) เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๕

ต่อมามีประชาชนให้การสนับสนุนมากขึ้น  จึงประชุมปรึกษาหารือกันในการขออนุมัติสร้างวัด ที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบให้ นายเทียม อุ่มบางตลาด เป็นผู้ขออนุมัติสร้างวัด วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐  แล้วได้รับประกาศแต่งตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนา นามว่า วัดเจริญธรรมาราม ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ต่อมาก็เริ่มสร้างถาวรวัตถุมาโดยลำดับ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประกาศในกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๖ ตอนที่ ๙๐ วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒

ภายในวัดเจริญธรรมารามยังมีแหล่งที่สามารถให้ความรู้อีก คือโรงเรียนปริยติธรรม ซึ่งเริ่มก่อตั้งประมาณ ๓๐ ปี เป็นต้นมาโดยมีการสอนในสายธรรมะ จะมีการเรียนในทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ โดยใช้ศาลาหลังโบสถเป็นสถานที่เรียนและในปีนี้มีนักศึกษาธรรมมะชั้นตรี,ชั้นโทและชั้นเอก และยังมีการสอนอภิธรรม(ธรรมที่ใช้ในการเทศนา)ในชั้นตรี,ภายในวัดยังมีศูนย์การชุมชนหรือศูนย์การเรียนนอกโรงเรียนอีกด้วยศูนย์การเรียนนี้มีการจัดตั้งประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยเป็นของสังกัด เขตบางเขนและเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ศูนย์การเรียนนอกโรงเรียนได้มี พ.ร.บ (พระราชบัญญัติการศึกษาของศูนย์การเรียนนอกโรงเรียน) ก็ได้แยกตัวออกจากเขตบางเขนมาเป็นเขตสายไหมมีการเรียนในระดับ ม. ต้น - ม. ปลาย ในเทอมที่ ๑/๒๕๕๓  มีการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์ และศิลปะพัฒนาทักษะชีวิต โดยมีอาจารย์ บุษบา ชิณวงค์ เป็นผู้สอนและดูแลศูนย์การเรียนชุมชนวัดเจริญธรรมาราม มีจำนวนนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ประมาณ ๖๐ คนต่อภาคเรียนและมีอายุประมาณ ๑๕  - ๕๕ ปี ส่วนใหญ่จะทำงานแล้ว

วัดเจริญธรรมาราม เป็นสำนักปฎิบัติธรรม ประจำกรุงเทพมหานคร แห่งที่ ๒๐

พระพุทธเจริญธรรม (ปางปฐมเทศนา)

พระพุทธเจริญธรรม (ปางปฐมเทศนา)
เมื่อเข้าวัดมา ทางด้านซ้ายมือจะมี พระพุทธเจริญธรรม (ปางปฐมเทศนา)  ด้านหลังมีการก่อสร้างอาคารอยู่


คำบูชาพระพุทธเจริญธรรม (ปางปฐมเทศนา)
ตั้งนะโม ๓ จบ, สายสัญญา (สูดหายใจเข้า), อิมัง อัคคี นะบูชา มิบูชา พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ปฎิบัติบูชสยะ สัญญานะ (สูดหายใจเข้าและอธิษฐาน)

วิหารพระศรีศากยมุนี (หลวงพ่อองค์ขาว ปางตรัสรู้)

ด้านบนวิหารพระศรีศากยมุนี (หลวงพ่อองค์ขาว ปางตรัสรู้)
เมื่อเดินเข้าไปอีกสักพัก ทางด้านซ้ายมือ จะเป็นวิหารพระศรีศากยมุนี (หลวงพ่อองค์ขาว ปางตรัสรู้) ด้านในวิหาร ประดิษฐาน พระพุทธรูปปางต่างๆ, รูปหล่อพระครูสังวรสมาธิวัตร, รูปหล่อพระครูภาวนาภิราม เจ้าอาวาสรูปที่ ๑

ด้านหน้ามีรูปปั้นท้าวท้าวเวสสุวรรณโณ ๒ องค์ สีเขียวและแดง

ท้าวเวสสุวรรณโณ ๒ องค์
ด้านในวิหาร ค่อนข้างร่มรื่น ไม่ร้อน จะพบ องค์พระศรีศากยมุนี (หลวงพ่อองค์ขาว ปางตรัสรู้) สำหรับท่านที่ต้องการทำบุญสังฆทาน สามารถทำได้ที่นี่ ซึ่งทางวัดเจริญธรรมาราม จัดอาสนะของพระสงฆ์ ไว้เพื่อให้ญาติธรรม มาทำบุญสังฆทาน ครับ

พระศรีศากยมุนี (หลวงพ่อองค์ขาว ปางตรัสรู้)
ทางด้านซ้ายมือขององค์พระศรีศากยมุนี (หลวงพ่อองค์ขาว ปางตรัสรู้)
พระพุทธรูปปางต่างๆ, รูปหล่อพระครูสังวรสมาธิวัตร, รูปหล่อพระครูภาวนาภิราม เจ้าอาวาสรูปที่ ๑

พระศรีศากยมุนี (หลวงพ่อองค์ขาว ปางตรัสรู้)

วิหารพระพุทธเจ้าทันใจ

ออกจากวิหารพระศรีศากยมุนี (หลวงพ่อองค์ขาว ปางตรัสรู้)  ทางด้านซ้ายมือ หรือ ถ้าเข้ามาจากหน้าวัด เดินตรงไป ก็จะพบ  บรรยากาศช่วงนี้ โดยรอบจะเป็นการเตรียมงานสำหรับงานปิดทองลูกนิมิต ที่จะมีขึ้นในอีกไม่กี่วัน ข้างหน้า

ภาพถ่ายจากด้านหน้าวิหารพระศรีศากยมุนี (หลวงพ่อองค์ขาว ปางตรัสรู้)

ด้านซ้ายมือ ก่อนเดินถึงวิหารพระพุทธเจ้าทันใจ

องค์พระพุทธเจ้าทันใจ
วิหารพระพุทธเจ้าทันใจ
องค์พระที่ประดิษฐานอยู่ภายในวิหาร ชื่อ พระพุทธเจ้าทันใจ สายไหมเมตตารัตนะปฎิมากร (พระทันใจ)  ด้านในวิหารก็มีที่ทำบุญต่างๆ เช่น การบริจาคทาน, การถวายผ้าห่มองค์พระ เป็นต้น

พระพุทธเจ้าทันใจ สายไหมเมตตารัตนะปฎิมากร (พระทันใจ)

โบสถ์

หลังจากสักการะพระพุทธเจ้าทันใจ สายไหมเมตตารัตนะปฎิมากร (พระทันใจ) เรียบร้อยแล้ว จึงเดินออกมา ไปที่โบสถ์ ซึ่งโบสถ์จะอยู่ทางด้านหน้า ใกล้กับประตูวัด

บรรยากาศโดยรอบก่อนถึงโบสถ์
 เมื่อเดินถึงบริเวณหลังคา จะเป็นส่วนด้านหลังของโบสถ์ (ตอนแรก ผมเข้าใจว่าเป็นด้านหน้าโบสถ์ แต่เมื่อผมเดินขึ้นไปภายในโบสถ์แล้ว จึงพบว่าเป็นด้านหลังองค์พระประธาน)

ด้านหลังก่อนเข้าถึงโบสถ์

บริเวณรอบโบสถ์ พร้อมสำหรับงานปิดทองลูกนิมิต

ภาพพุทธประวัติรอบกำแพงโบสถ์
ด้านหน้าโบสถ์
องค์พระด้านหน้าโบสถ์


ประตูทางเข้าโบสถ์

เมื่อเดินขึ้นโบสถ์ เพื่อไปกราบพระประธาน  ก็พบบรรยากาศการเตรียมงานอยู่ ซึ่งผมคิดว่า อาจจะไม่เหมาะสม  ถ้าเข้าไปแล้ว อาจจะเป็นตัวเกะกะ ก็ได้ 😊  จึงอยู่ด้านนอก แล้วถ่ายรูปพระประธาน ในโบสถ์

พระประธานในโบสถ์

หน้าบรรณ
บรรยากาศก่อนกลับมาที่รถ เพื่อเดินทางต่อ ครับ





หากท่านใด สะดวกที่จะมาทำบุญ ปิดทอง ฝังุลูกนิมิต เพื่อความเป็นสิริมงคล ในปี ๒๕๖๐ ก็ถือว่าเป็นวัดหนึ่งที่อยู่ในกรุงเทพฯ

พิกัด GPS : 13.925849, 100.638463

แผนที่


เหมาะสำหรับ คนที่อยู่แถวลำลูกา, รังสิต, รามอินทรา ที่ค่อนข้างเดินทางสะดวกเพราะยังถือว่าไม่ไกล ครับ

ขอบคุณครับ ...  😊



สำหรับท่านที่สนใจหาที่พัก ใกล้วัด สามารถ กดลิงค์ ที่นี่ ได้  หรือ กดลิงค์นี่ ครับ